วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๐


                                                    ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                 ว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล
                                                             พ.ศ. ๒๕๔๐
                                                           ----------------

     โดยที่กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ ในการควบคุมกำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ กระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


      ข้อความทั่วไป

   ข้อ ๑  ระเบียบนี้ให้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๐"

   ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   ข้อ ๓  ในระเบียบนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
   "เงินสะสม" หมายความว่า เงินสะสมทุกประเภทขององค์การบริหารส่วนตำบล
   "เงินทุน" หมายความว่า เงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล

   ข้อ ๔  ในกรณีใดที่ไม่มีระเบียบ หรือวิธีการกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการนั้นๆ

   ข้อ ๕  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามนี้ และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์  และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

   ในกรณีมีเหตุอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ได้

   ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้
 ให้อธิบดีกรมการปกครองได้ตามที่เห็นสมควร

 
                                                                    หมวด ๑
    
                                  คณะกรรมการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล
  
ข้อ ๖  ให้คณะกรรมการอำนวยการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นคณะหนึ่งเรียกโดยย่อ "ก.ส.อบต." ประกอบด้วย
   (๑)  ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                   เป็น              ประธานกรรมการ
   (๒)  อธิบดีกรมการปกครอง                                     เป็น              รองประธานกรรมการ
   (๓)  อธิบดีกรมโยธาธิการ                                       เป็น              กรรมการ
   (๔)  รองอธิบดีกรมการปกครอง                                เป็น              กรรมการ
   (๕)  ผู้อำนวยการสำนักบริหาร                                  เป็น              กรรมการ
          ราชการส่วนท้องถิ่น
   (๖)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล                          เป็น             กรรมการ
          ทั่วราชอาณาจักร จำนวนห้าคน
   (๗)  ผู้อำนวยการกองราชการ                                  เป็น              กรรมการ
          ส่วนตำบล  และเลขานุการ
   (๘)  หัวหน้าฝ่ายงบประมาณและ                              เป็น              กรรมการ
          และผู้ช่วยเลขานุการ
   (๙)  หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบระบบ                               เป็น              กรรมการ
          บัญชีกองราชการส่วนตาบล                                                 และผู้ช่วยเลขานุการ

   การเลือกตั้งกรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วราชอาณาจักรห้าคนนั้นให้เป็นไปตามวิธีการที่อธิบดีกรมการปกครองกำหนด

   ข้อ ๗   ก.ส.อบต. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการโดยทั่วไป จัดหาเงินทุนและพิจารณาอนุมัติเงินให้องค์การบริหารส่วนตำบลกู้ไปเพื่อใช้จ่ายในกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล กับควบคุมการดำเนินการใดๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งระเบียบนี้

   ข้อ ๘  ให้มีคณะอนุกรรมการดำเนินการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นคณะหนึ่ง โดยเรียกชื่อย่อว่า "อ.ส.อบต." ประกอบด้วยอธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธาน และอนุกรรมการอันซึ่งประธาน ก.ส.อบต. จะไดพิจารณาตั้งขึ้นอีกไม่น้อยกว่าสองคนเป็นอนุกรรมการ และให้คณะอนุกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

   (๑)  รับ - จ่าย และเก็บรักษาเงินทุน เฉพาะการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับเงินทุนให้ อ.ส. อบต. มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายได้คราวละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท การจ่ายเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
จะต้องได้รับคราวเห็นชอบจาก ก.ส.อบต. ก่อน
   (๒)  กำหนดระเบียบต่างๆ เพื่อใช้ปฏิบัติในการจัดการดำเนินการเงินทุน
   (๓)  กำหนดแบบบัญชีเงินทุน และควบคุมบัญชีการเงินเงินทุน
   (๔)  กำหนดส่วนการบริหารและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
   (๕)  เก็บรักษาเอกสารต่างๆ
   (๖)  จัดให้มีการตรวจสอบบัญชีการเงินเงินทุน และเสนอรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมงบดุล งบเงินรายได้ รายจ่าย และงบเงินรับจ่าย และรายงานกิจการประจำปีเสนอให้ประธาน ก.ส.อบต. ทราบ และจัดส่งงบดุลแสดงฐานะการเงินของ ก.ส. อบต. แต่ละปี ให้ทุกองค์การบริหารส่วนตำบลทราบ
   (๗)  รวบรวมรายงานต่างๆ ที่ควรเสนอต่อที่ประชุม ก.ส.อบต.

   ข้อ ๙  การประชุมของ ก.ส.อบต. ให้ประธาน ก.ส.อบต. เป็นผู้เรียกประชุมเป็นครงคราวตามความจำเป็น และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงเป็นองค์ประชุมการลงมติใดๆให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

   ข้อ ๑๐  สำนักงานกลางของ ก.ส.อบต. ตั้งอยู่ที่กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

                                                                 หมวด ๒
                                     เงินทนสงเสรมกจการองคการบรหารสวนตาบล

   ข้อ ๑๑  เงินทุนให้รวบรวมจากเงิน ดังต่อไปนี้

   (๑)  เงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบล
   (๒)  เงินดอกผลที่เกิดจากเงินทุนนี้
   (๓)  เงินอื่นๆ ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรจะจัดการเพื่อส่งให้สมทบเงินทุนนี้


   ข้อ ๑๒  เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกองค์การบริหารส่วนตำบล จัดส่งเงินสะสมในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินสะสมประจำปีงบประมาณทุกปี โดยให้จัดส่งถึงประธาน อ.ส.อบต. ในระยะไม่เกินสามเดือนแรกแห่งปีงบประมาณ และถอนคืนไม่ได้ เว้นแต่อธิบดีกรมการปกครองจะได้สั่งการเป็นอย่างอื่น

    ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลใด ประสงค์จะฝากเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลกับ อ.ส.อบต. ในจำนวนมากกว่าที่กำหนดหลักเกณฑไว้ในระเบียบนี้ให้ทำความตกลงกับ อ.ส.อบต. เป็นกรณีพิเศษเป็นรายๆ ไป

   ข้อ ๑๓  เงินทุนตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ให้ อ.ส.อบต. ส่งฝากไว้ ณ ธนาคารออมสินหรือธนาคารอื่นซึ่งอธิบดีกรมการปกครองเห็นชอบ

   ข้อ ๑๔  การถอนเงินจากธนาคารทุกครั้ง ให้ประธาน อ.ส.อบต. หรือผู้ที่ประธาน อ.ส.อบต. มอบหมาย กับอนุกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อร่วมกัน

                                                          หมวด ๓
                                    การใหกู้ การจ่ายเงิน และการคิดดอกเบี้ย

   ข้อ ๑๕  ให้องค์การบริหารส่วนตำบลกู้เงินได้เฉพาะเพื่อไปดำเนินกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบลตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้และให้ชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกินสิบห้าปี


   ข้อ ๑๖  องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีสิทธิจะกู้เงินทุนนี้ได้ ต้องเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งได้ส่งเงินสะสมกับ อ.ส.อบต ตามข้อ ๑๒ และจะกู้ได้ไม่เกินสิบเท่าของจำนวนเงินที่สะสมไว้ เว้นแต่ ก.ส.อบต ได้พิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น

   ข้อ ๑๗  เงินทุนซึ่งจ่ายให้องค์การบริหารส่วนตำบลกตามข้อ ๑๖ ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละสิบต่อปี ยกเว้นเงินที่นอนเป็นเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเอง

   ข้อ ๑๘  ให้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินทุนซึ่งรวบรวมได้ดังนี้

   (๑)  เงินสะสมซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลฝากไว้ ให้คิดดอกเบี้ยตามที่ ก.ส.อบต กำหนดเป็นปีๆ ไป
   (๒)  เงินตามข้อ ๑๑ (๓) หรือเงินทุนต่างๆ

   ข้อ ๑๙  เมื่อได้จ่ายดอกเบี้ยให้ ตามข้อ ๑๘ แล้ว การจ่าย ค่าตอบแทนเงินรางวัล ค่าจ้าง ค่าป่วยการ หรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นใดที่เกี่ยวกับกิจการของเงินทุนนี้ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของยอดเงินดอกผลที่เหลือในปีนั้น โดยให้ ก.ส.อบต พิจารณากำหนดเป็นรายปีไป


      ประกาศ ณ วนท ๑๓ สงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
             เสนาะ  เทียนทอง
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น