วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัิติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐

                                                          พระราชบัญญัติ
                                                   ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๔)
                                                            พ.ศ. ๒๕๕๐
   

                                                      ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
                                           ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
                                                เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ ให้ประกาศว่า

       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

       จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ
ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

        มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัตควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๐”

        มาตรา ๒  พระราชบัญญัตนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา เป็นต้นไป

        มาตรา ๓  ใหเพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘) ของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
“(๘) อาคารทกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การ
ของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดใหัมีหรือพัฒนาเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
สำหรับผู้มีรายได้น้อย ทั้งนี้ ต้องมิใช่การยกเว้นหรือผ่อนผันเงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง
และความปลอดภัยของอาคารหรือความปลอดภัยของผู้ซึ่งอยู่อาศัยหรือใช้อาคาร”


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบาย
แก้ไขปัญหาความยากจนและขยายโอกาสให้คนยากจน และคนด้อยโอกาส ซึ่งนโยบายประการ
หนึ่งคือการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัย รวมทั้งได้รับการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพ
ชีวิตได้ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่
จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐสามารถดำเนินการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัย
ต้นทุนต่ำสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยไม่มีปัญหาอุปสรรคในด้านการขออนุญาตก่อสร้าง
หรือด้านข้อกำหนดมาตรฐานอาคารในบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงแข็งแรงหรือ
ความปลอดภัยของอาคาร เช่น ระยะถอยร่น เนื้อที่ของที่ว่างภายนอกอาคารหรือระยะห่างจากแนว
เขตที่ดิน เป็นต้น สมควรยกเว้น ผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมอาคารบางประการ โดยออกเป็นกฎกระทรวง เพื่อให้อาคารที่หน่วยงานของรัฐ
ดังกล่าวจัดใหม่หรือพัฒนานั้นสอดคล้องกับความต้องการและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น