วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘

                                                  ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                          ว่าด้วยการรับเงน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
                            และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒)
                                                           พ.ศ. ๒๕๔๘
  

       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๗

       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ มาตรา ๕ และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


        ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘”

        ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

        ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๙ และข้อ ๙๐ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน“ข้อ ๘๙ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้จ่ายเงินสะสมได้
 โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

          (๑)  ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับด้านการบริการชุมชนและสังคม หรือกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่กฎหมายกำหนด

          (๒)  ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทตามระเบียบแล้ว
              
          (๓)  เมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีถัดไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินสะสมนั้นเป็นอันพับไป ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมียอดเงินสะสมคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายประจำและกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น โดยการใช้จ่ายเงินสะสมให้คำนึงถึงฐานะ
การคลัง และเสถียรภาพในระยะยาวข้อ ๙๐  กรณีที่งบประมาณรายจ่ายประกาศใช้บังคับแล้ว มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจ่ายหรือไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนั้นไว้
           ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายขาดเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่นในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)  รับโอน เลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่น
(๒)  เบิกเงินให้ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการสภาท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับเงินอื่นตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปีงบประมาณ
(๓)  ค่าใช้จ่ายตาม (๑) และหรือ (๒) ให้ถือเป็นรายจ่ายในปีงบประมาณนั้น”


ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
         
             สมชาย สนทรวัฒน์

รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๑

                                     ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                        ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 
                                          (ฉบับที่  ๘)  พ.ศ.  ๒๕๕๑


      โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  พ.ศ.  ๒๕๔๖ 
      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  ๒๓๖  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา  ๑๐
แหงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  พ.ศ.  ๒๕๕๐  มาตรา  ๕
และมาตรา  ๕๔  แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.  ๒๕๔๕  ประกอบมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ครั้งที่  ๑๓๔/๒๕๕๑  เมื่อวันที่  ๒๘  ตุลาคม  ๒๕๕๑
คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกข้อกำหนดไว้  ดังนี้

ข้อ  ๑  ข้อกำหนดนี้เรียกว่า  “ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  (ฉบับที่  ๘)  พ.ศ.  ๒๕๕๑”

ข้อ  ๒  ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ขอ  ๓  ให้ยกเลิกข้อความในข้อ  ๑๕  วรรคท้าย  ของข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  พ.ศ.  ๒๕๔๖  แก้ไขเพิ่มเติมถึง  (ฉบับที่  ๕)
พ.ศ.  ๒๕๕๐  และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน“กรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่  ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและไม่มีการรับสมัครใหมัผู้สมัครแต่ละคนจะต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามวรรคหนึ่งส่วนกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง  ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งและมีการรับสมัครใหม่  ผู้สมัครแต่ละคนจะต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง”

ประกาศ  ณ  วันที่  ๗  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๑
              อภิชาติ  สุขคคานนท์
         ประธานกรรมการการเลือกตั้ง



ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการทำนิติกรรมของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘

                                               ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                         ว่าด้วยการทำนิติกรรมของสภาตำบล
                                                       พ.ศ. ๒๕๓๘
                                                     ------------------

   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


   ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการทำนิติกรรมของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘"

   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   ข้อ ๓ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

   ในกรณีมีเหตุสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจยกเว้นผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้

   ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้
 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้


                                                              หมวด ๑
                                          ผู้มีอำนาจทำนิติกรรมแทนสภาตำบล
                                                        -----------------

   ข้อ ๔ ในการทำนิติกรรมของสภาตำบลให้ประธานสภาตำบล เลขานการสภาตำบลและสมาชิกสภาตำบลผู้ได้รับเลือกอีกหนึ่งคน เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนสภาตำบล

   ข้อ ๕ เมื่อประธานสภาตำบลเรียกประชุมสมาชิกสภาตำบลตามความในข้อ ๔ แห่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการประชุมสภาำตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้สภาตำบลเลือกสมาชิกสภาตำบลจำนวนหนึ่งคน เป็นผู้แทนของสภาตำบล ประธานสภาตำบลไม่มีสิทธิได้รับเลือก
    วิธีเลือกสมาชิกสภาตำบลตามความในวรรคหนึ่ง สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกที่ตนเห็นสมควรได้หนึ่งชื่อ คำเสนอนั้นต้องมีสมาชิกรับรองอย่างน้อยสองคน ชื่อที่เสนอไม่จำกัดจำนวนให้เลือกจากชื่อเหล่านั้น โดยวิธีเขียนชื่อลงคะแนน เมื่อตรวจนับแล้วให้ประธานสภาตำบลประกาศคะแนนต่อที่ประชุมผู้ไดคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าได้คะแนนสูงสุดเท่ากันตั้งแต่สองชื่อขึ้นไป ให้เลือกให้มีเฉพาะชื่อที่ได้คะแนนเท่ากัน แต่ถ้าคะแนนสูงสุดเท่ากันอีก ก็ให้ประธานสภาตำบลออกเสียงชี้ขาด
   ในการตรวจนับคะแนน ให้เลขานุการสภาตำบลเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าสามคนมาช่วย ถ้ามีการเสนอชื่อเพียงชื่อเดียวให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือก
   ใหประธานสภาตำบลเสนอชื่อสมาชิกสภาตำบลผู้ได้รับเลือกให้นายอำเภอแต่งตั้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือก

   ข้อ ๖ ผู้แทนของสภาตำบล ที่ได้รับเลือกตามข้อ ๕ แห่งระเบียบนี้ย่อมพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสภาตำบล เมื่อ
   (๑) พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลตามวาระ
   (๒) พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
   (๓) สภาตำบลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสภาตำบลด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาตำบลทั้งหมด
   (๔) เป็นบุคคลที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย
   (๕) ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

   ข้อ ๗ เมื่อตำแหน่งผู้แทนของสภาตำบลตามความในข้อ ๖ ว่างลง ให้ประธานสภาตำบลเรียกประชุมสภาตำบลเพื่อเลือกผู้แทนของสภาตำบลแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการว่าง

   ข้อ ๘ ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนของผู้แทนของสภาตำบลและมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหาย นายอำเภอโดยความเห็นชอบของสภาตำบลจะแต่งตั้งผู้แทนของสภาตำบลชั่วคราวแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นก็ได้


                                                    หมวด ๒
                                                    นิติกรรม
                                              --------------------

   ข้อ ๙ นิติกรรมใดของสภาตำบลซึ่งผู้แทนของสภาตำบลลงนามไม่ครบจำนวนสามคน ตามข้อ ๔ นิติกรรมนั้นไม่มีผลผูกพันสภาตำบล

   ข้อ ๑๐ นิติกรรมของสภาตำบลซึ่งได้กระทำขึ้นภายในขอบอำนาจหน้าที่ของสภาตำบลตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ย่อมมีผลผูกพันสภาตำบล

   ข้อ ๑๑ ในการทำนิติกรรมของสภาตำบล ผู้แทนของสภาตำบลจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นลงชื่อแทนในนิติกรรมหาได้ไม่


   ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้แทนของสภาตำบลตามข้อ ๙ เข้าไปมีส่วนได้เสียในนิติกรรมของสภาตำบล

   ข้อ ๑๓ นิติกรรมใดอื่นเกี่ยวกับทรัพย์สินของสภาตำบล ดังต่อไปนี้ ผู้แทนของสภาตำบลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสภาตำบล
   (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนองหรือโอนสิทธิ์จำนอง ซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

   (๒) กระทำให้สิ้นสุดทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพย์สิทธิของสภาตำบลอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

   (๓) ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอมสิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันใดในอสังหาริมทรัพย์

   (๔) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิ์เรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิในอสังหาริมทรัพย์
 หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของสภาตำบลปลอดจากทรัพย์สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
 
   (๕) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
   (๖) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
   (๗) ให้กู้ยืมเงิน
   (๘) ให้โดยเสน่หา
   (๙) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
   (๑๐) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้สภาตำบลต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้สภาตำบลต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
   (๑๑) ประนีประนอมยอมความ
   (๑๒) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยสามคน ตามข้อ ๔ นิติกรรมนั้นไม่มีผลผูกพันสภาตำบล
 
   ข้อ ๑๔ การปฏิบัติงานของสภาตำบล หากมีกฎหมายหรือระเบียบอื่นกำหนดในเรื่องการทำนิติกรรมของสภาตำบลไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบนั้น

   ข้อ ๑๕ การทำนิติกรรมของสภาตำบล หากไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ก็ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมและสัญญาแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                                                         หมวด ๓
                           ความรับผิดของสภาตำบลและผู้แทนของสภาตำบล
                                                  --------------------

   ข้อ ๑๖ การกระทำนิติกรรมตามหน้าที่ของผู้แทนของสภาตำบลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น สภาตำบลจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแต่ไม่เสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
   ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบอำนาจหน้าที่ของสภาตำบล ผู้แทนของสภาตำบลซึ่งเป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย

   ข้อ ๑๗ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใชบงคบแกความเกยวพนระหวางสภาตาบลกบผแทนของสภาตาบล และระหวางสภาตำบลหรือผู้แทนของสภาตำบลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม

                                                            เบ็ดเตล็ด
                                                       -------------------

   ข้อ ๑๘ หากสภาตำบลเห็นสมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้สภาตำบลเสนอเหตุผลต่อนายอำเภอ เพื่อขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด

      ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
                 พลตร สนั่น  ขจรประศาสน์

            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบล รองประธานสภาตำบล สมาชิกสภาตำบล และเลขานุการสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘

                                       ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
               ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบล รองประธานสภาตำบล
                            สมาชิกสภาตำบล และเลขานุการสภาตำบล
                                              พ.ศ. ๒๕๓๘
                                          --------------------

   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


   ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบล รองประธานสภาตำบล สมาชิกสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบล พ.ศ.๒๕๓๘"

   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   ข้อ ๓ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

   ในกรณีมีเหตุอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ได้

   ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตาม
ความในระเบียบนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้สภาตำบลได้ตามที่เห็นสมควร

   ข้อ ๔ ให้ประธานสภาตำบล รองประธานสภาตำบล สมาชิกสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้

   สมาชิกสภาตำบลผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาตำบล หรือรองประธานสภาตำบล ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในฐานะสมาชิกสภาตำบลตามความในวรรคหนึ่ง

   ข้อ ๕ ให้กำหนดวันเริ่มได้รับเงินค่าตอบแทนตามข้อ ๔ ในการประชุมสภาตำบลโดยให้ประธานสภาตำบล และรองประธานสภาตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนไม่ก่อนวันที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนไม่ก่อนวันเริ่มต้นสมาชิกภาพและเลขานุการสภาตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

    ข้อ ๖ การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่บุคคลตามข้อ ๔ ที่เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือนให้จ่ายค่าตอบแทนตามส่วนของจำนวนวันที่่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว

   ข้อ ๗ สมาชิกสภาตำบลผู้ใดต้องถูกควบคุมโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือถูกกักขังโดยคำสั่งศาลให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนตั้งแต่วันที่ถูกควบคุมหรือขังจนกว่าจะถูกปล่อยตัวแต่เมื่อคดีถึงที่สุดว่าไม่มีความผิดก็ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนระหว่างที่งดจ่ายไว้นั้นด้วย

   ข้อ ๘ ในกรณตอไปนี้ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกสภาตำบลเสียทั้งสิ้น
   (๑) ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
   (๒) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ๆ
   การงดจ่ายค่าตอบแทนตาม (๑) ให้งดจ่ายตั้งแต่วันที่คำพิพากษามีผลใช้บังคับ การงดจ่ายตาม (๒) ให้งดจ่ายตั้งแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพเป็นต้นไป

   ข้อ ๙ ให้สมาชิกสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนประเภทค่าเบี้ยประชุม สาหรับการประชุมของสภาตำบลเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมตามบัญชีอัตราค่าตอบแทน ประเภทค่าเบี้ยประชุมท้ายระเบียบนี้

   ถ้าในวันหนึ่งมีีการประชุมสภาตำบลหลายครั้ง ให้สมาชิกสภาตำบลและเลขา
นุการสภาตำบลได้รับค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว

      ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
                พลตรี สนั่น  ขจรประศาสน์

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘

                                               ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                         ว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของสภาตำบล
                                                       พ.ศ. ๒๕๓๘
                                                   ---------------------

   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของสภาตำบลไว้ดังต่อไปนี้


   ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘"

   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   ข้อ ๓ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมอำนาจตความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

   ในกรณีมีเหตุอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ได้

   ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันในการปฏิบ้ติตามความในระเบียบนี้
 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้สภาตำบลได้ตามที่เห็นสมควร

   ข้อ ๔ ให้นำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาบังคับใช้กับลูกจ้างของสภาตำบลโดยอนุโลม เว้นแต่ในระเบียบนี้จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

   ข้อ ๕ คำว่า "หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น" และ "หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ้างลูกจ้าง
ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๖ ในระเบียบนนี้ให้หมายถึง สภาตำบล และ
ประธานสภาตำบล ตามลำดับ

   ข้อ ๖ ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวของสภาตำบล จะมีตำแหน่งใด จำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามบัญชีกรอบอัตราตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวท้ายระเบียบ


        ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
              
               พลตรี สนั่น  ขจรประศาสน์

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓

                                               ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                      ว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบล (ฉบับที่ ๒)
                                                      พ.ศ. ๒๕๔๓
                                                       ------------

   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบลให้เหมาะสม
   อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

   ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓"
   ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
   ข้อ ๓  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ ทวิ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้

   "ข้อ ๘ ทวิ  ในกรณีที่มีผู้แทนชุมชน หรือประชาคมร่วมเป็นคณะกรรมการตามข้อ ๒๑  ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้สภาตำบลเสียหายโดยจงใจ โดยประมาทเลินเล่อ โดยมีเจตนาทุจริต โดยปราศจากอำนาจ ผุ้นั้นจะต้องรับผิดตามกฎหมาย"
   ข้อ ๔  ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๒๑ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของสภาตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
   "ข้อ ๒๑  คณะกรรมการตามข้อ ๒๐ แต่ละคณะให้ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยสองคน โดยให้แต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบล 
เลขานุการสภาตำบล เจ้าหน้าที่สภาตำบล ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสภาตำบล ข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานสภาตำบลแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทนสำหรับการซื้อการจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษ ให้ประธานสภาตำบลแต่งตั้งผู้แทนชุมชนหรือประชาคม ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่จะซื้อหรือจ้างครั้งนั้นตามข้อเสนอของชุมชนหรือประชาคมในเขตพื้นที่ดำเนินการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยอย่างน้อยคณะละสองคน"
   ข้อ ๕  การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ

        ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
                      
                         ชำนิ  ศักดิเศรษฐ์

          รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน
             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยรายได้สภาตำบลซึ่งได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๓

                                                 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                     ว่าด้วยรายได้สภาตำบลซึ่งได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                                                       พ.ศ.  ๒๕๔๓
                                                         ------------

   โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยรายได้สภาตำบลซึ่งได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ.  ๒๕๓๘
   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา  ๒๙  แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  ๒๕๓๗ ประกอบกับมาตรา  ๔๕ (๕)  และมาตรา  ๖๐  แห่งพระราชบัญญัตองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.  ๒๕๔๐  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

   ข้อ  ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า  "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยรายได้สภาตำบลซึ่งได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ. ๒๕๔๓
   ข้อ  ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
   ข้อ  ๓  ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยรายได้สภาตำบลซึ่งได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ.  ๒๕๓๘   บรรดาระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
   ข้อ  ๔  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้  และมีอำนาจตีความ วิินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ  และยกเว้นการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้  ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร  และให้แสดงเหตุผลและความจำเป็นไว้ด้วย
   ข้อ  ๕  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย  สภาตำบลมีรายได้ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรให้ ดังต่อไปนี้

    (๑)  ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีป้าย  อากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ ที่จัดเก็บได้ในตำบลทั้งหมด
    (๒)  ค่าธรรมเนียม  ค่าใบอนุญาต  และค่าปรับ  ที่จัดเก็บได้ในตำบลนั้นทั้งหมด
    (๓)  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการพนันที่เก็บเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติจังหวัด ในตำบลนั้นทั้งหมด
    (๔)  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  และภาษีธุรกิจเฉพาะ  ร้อยละห้าของภาษีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับจัดสรรจากกระทรวงมหาดไทย  หากจังหวัดใดมีหลายสภาตำบลให้สภาตำบลแต่ละแห่งได้รับจัดสรรเท่า ๆ กัน  โดยให้ได้รับจัดสรรปีละสามงวด  ดังนี้

     งวดที่หนึ่ง  ภายในเดือนธันวาคม
     งวดที่สอง  ภายในเดือนเมษายน
     งวดที่สาม  ภายในเดือนสิงหาคม
    (๕)  ภาษีสุรา  และภาษีสรรพสามิต  ร้อยละห้าของภาษีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับจัดสรรจากกระทรวงมหาดไทย  หากจังหวัดใดมีหลายสภาตำบลให้สภาตำบลแต่ละแห่งได้รับจััดสรรตามอัตราส่วนแห่งยอดจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนในวันสิ้นปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว  โดยให้ได้รับจัดสรรปีละสามงวด ดังนี้

     งวดที่หนึ่ง  ภายในเดือนพฤศจิกายน
     งวดที่สอง  ภายในเดือนมีนาคม
     งวดที่สาม  ภายในเดือนกรกฎาคม
    (๖)  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน  ร้อยละห้าของภาษีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับจัดสรรจากจังหวัด  หากจังหวัดใดมีหลายสภาตำบลให้สภาตำบลแต่ละแห่งได้รับจัดสรรตามอัตราส่วนแห่งยอดจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตาม (๕)โดยให้ได้รับจัดสรรปีละสี่งวด  ดังนี้

     งวดที่หนึ่ง  ภายในเดือนพฤศจิกายน
     งวดที่สอง  ภายในเดือนกุมภาพันธ์
     งวดที่สาม  ภายในเดือนพฤษภาคม
     งวดที่สี่  ภายในเดือนสิงหาคม
   ข้อ  ๖  เงินรายได้ที่สภาตำบลได้รับจัดสรรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามข้อ  ๕ ให้ถือว่าเป็นเงินที่ได้รับตามข้อผูกพันหรือตามกฎหมายหรือตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้  โดยนำส่งให้สภาตำบล ดังนี้

    (๑)  เงินภาษีอากร  ค่าธรรมเนียม  ค่าใบอนุญาต  และค่าปรับตามข้อ ๕(๑) (๒) และ (๓)  เมื่อได้จัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้ว  ให้ส่งมอบให้แก่สภาตำบลทุกสิ้นเดือนโดยนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสภาตำบลพร้อมกับแจ้งให้สภาตำบลทราบ  หากสภาตำบลใดยังไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารก็ให้ส่งมอบให้แก่สภาตำบลนั้นโดยตรง
    (๒)  เงินภาษีตามข้อ  ๕ (๔) (๕) และ (๖)  ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งมอบให้แก่สภาตำบลโดยนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสภาตำบลพร้อมกับแจ้งให้สภาตำบลทราบ หากสภาตำบลยังไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารก็ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งมอบให้สภาตำบลนั้นโดยตรง   หากงวดใดมีเหตุอันสมควร  หรือเพื่อประโยชน์ของสภาตำบล  อาจให้สภาตำบลได้รับจัดสรรเร็วกว่ากำหนด  ขยายเวลางวดการได้รับจัดสรร  หรือเพิ่มงวดการได้รับจัดสรร  โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด   ในการจัดสรรหาก็มีเงินเหลือเท่าใด  ให้นำไปสมทบกับเงินที่จัดสรรในงวดถัดไป


           ประกาศ  ณ  วันที่  ๖  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๓
               
                           ชำนิ  ศักดิเศรษฐ์

            รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน
               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๐


                                                    ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                 ว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล
                                                             พ.ศ. ๒๕๔๐
                                                           ----------------

     โดยที่กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ ในการควบคุมกำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ กระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


      ข้อความทั่วไป

   ข้อ ๑  ระเบียบนี้ให้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๐"

   ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   ข้อ ๓  ในระเบียบนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
   "เงินสะสม" หมายความว่า เงินสะสมทุกประเภทขององค์การบริหารส่วนตำบล
   "เงินทุน" หมายความว่า เงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล

   ข้อ ๔  ในกรณีใดที่ไม่มีระเบียบ หรือวิธีการกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการนั้นๆ

   ข้อ ๕  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามนี้ และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์  และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

   ในกรณีมีเหตุอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ได้

   ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจการยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้
 ให้อธิบดีกรมการปกครองได้ตามที่เห็นสมควร

 
                                                                    หมวด ๑
    
                                  คณะกรรมการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล
  
ข้อ ๖  ให้คณะกรรมการอำนวยการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นคณะหนึ่งเรียกโดยย่อ "ก.ส.อบต." ประกอบด้วย
   (๑)  ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                   เป็น              ประธานกรรมการ
   (๒)  อธิบดีกรมการปกครอง                                     เป็น              รองประธานกรรมการ
   (๓)  อธิบดีกรมโยธาธิการ                                       เป็น              กรรมการ
   (๔)  รองอธิบดีกรมการปกครอง                                เป็น              กรรมการ
   (๕)  ผู้อำนวยการสำนักบริหาร                                  เป็น              กรรมการ
          ราชการส่วนท้องถิ่น
   (๖)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล                          เป็น             กรรมการ
          ทั่วราชอาณาจักร จำนวนห้าคน
   (๗)  ผู้อำนวยการกองราชการ                                  เป็น              กรรมการ
          ส่วนตำบล  และเลขานุการ
   (๘)  หัวหน้าฝ่ายงบประมาณและ                              เป็น              กรรมการ
          และผู้ช่วยเลขานุการ
   (๙)  หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบระบบ                               เป็น              กรรมการ
          บัญชีกองราชการส่วนตาบล                                                 และผู้ช่วยเลขานุการ

   การเลือกตั้งกรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วราชอาณาจักรห้าคนนั้นให้เป็นไปตามวิธีการที่อธิบดีกรมการปกครองกำหนด

   ข้อ ๗   ก.ส.อบต. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการโดยทั่วไป จัดหาเงินทุนและพิจารณาอนุมัติเงินให้องค์การบริหารส่วนตำบลกู้ไปเพื่อใช้จ่ายในกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล กับควบคุมการดำเนินการใดๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งระเบียบนี้

   ข้อ ๘  ให้มีคณะอนุกรรมการดำเนินการเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นคณะหนึ่ง โดยเรียกชื่อย่อว่า "อ.ส.อบต." ประกอบด้วยอธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธาน และอนุกรรมการอันซึ่งประธาน ก.ส.อบต. จะไดพิจารณาตั้งขึ้นอีกไม่น้อยกว่าสองคนเป็นอนุกรรมการ และให้คณะอนุกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

   (๑)  รับ - จ่าย และเก็บรักษาเงินทุน เฉพาะการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับเงินทุนให้ อ.ส. อบต. มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายได้คราวละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท การจ่ายเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
จะต้องได้รับคราวเห็นชอบจาก ก.ส.อบต. ก่อน
   (๒)  กำหนดระเบียบต่างๆ เพื่อใช้ปฏิบัติในการจัดการดำเนินการเงินทุน
   (๓)  กำหนดแบบบัญชีเงินทุน และควบคุมบัญชีการเงินเงินทุน
   (๔)  กำหนดส่วนการบริหารและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
   (๕)  เก็บรักษาเอกสารต่างๆ
   (๖)  จัดให้มีการตรวจสอบบัญชีการเงินเงินทุน และเสนอรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมงบดุล งบเงินรายได้ รายจ่าย และงบเงินรับจ่าย และรายงานกิจการประจำปีเสนอให้ประธาน ก.ส.อบต. ทราบ และจัดส่งงบดุลแสดงฐานะการเงินของ ก.ส. อบต. แต่ละปี ให้ทุกองค์การบริหารส่วนตำบลทราบ
   (๗)  รวบรวมรายงานต่างๆ ที่ควรเสนอต่อที่ประชุม ก.ส.อบต.

   ข้อ ๙  การประชุมของ ก.ส.อบต. ให้ประธาน ก.ส.อบต. เป็นผู้เรียกประชุมเป็นครงคราวตามความจำเป็น และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงเป็นองค์ประชุมการลงมติใดๆให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

   ข้อ ๑๐  สำนักงานกลางของ ก.ส.อบต. ตั้งอยู่ที่กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

                                                                 หมวด ๒
                                     เงินทนสงเสรมกจการองคการบรหารสวนตาบล

   ข้อ ๑๑  เงินทุนให้รวบรวมจากเงิน ดังต่อไปนี้

   (๑)  เงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบล
   (๒)  เงินดอกผลที่เกิดจากเงินทุนนี้
   (๓)  เงินอื่นๆ ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรจะจัดการเพื่อส่งให้สมทบเงินทุนนี้


   ข้อ ๑๒  เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกองค์การบริหารส่วนตำบล จัดส่งเงินสะสมในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินสะสมประจำปีงบประมาณทุกปี โดยให้จัดส่งถึงประธาน อ.ส.อบต. ในระยะไม่เกินสามเดือนแรกแห่งปีงบประมาณ และถอนคืนไม่ได้ เว้นแต่อธิบดีกรมการปกครองจะได้สั่งการเป็นอย่างอื่น

    ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลใด ประสงค์จะฝากเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลกับ อ.ส.อบต. ในจำนวนมากกว่าที่กำหนดหลักเกณฑไว้ในระเบียบนี้ให้ทำความตกลงกับ อ.ส.อบต. เป็นกรณีพิเศษเป็นรายๆ ไป

   ข้อ ๑๓  เงินทุนตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ให้ อ.ส.อบต. ส่งฝากไว้ ณ ธนาคารออมสินหรือธนาคารอื่นซึ่งอธิบดีกรมการปกครองเห็นชอบ

   ข้อ ๑๔  การถอนเงินจากธนาคารทุกครั้ง ให้ประธาน อ.ส.อบต. หรือผู้ที่ประธาน อ.ส.อบต. มอบหมาย กับอนุกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อร่วมกัน

                                                          หมวด ๓
                                    การใหกู้ การจ่ายเงิน และการคิดดอกเบี้ย

   ข้อ ๑๕  ให้องค์การบริหารส่วนตำบลกู้เงินได้เฉพาะเพื่อไปดำเนินกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบลตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้และให้ชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกินสิบห้าปี


   ข้อ ๑๖  องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีสิทธิจะกู้เงินทุนนี้ได้ ต้องเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งได้ส่งเงินสะสมกับ อ.ส.อบต ตามข้อ ๑๒ และจะกู้ได้ไม่เกินสิบเท่าของจำนวนเงินที่สะสมไว้ เว้นแต่ ก.ส.อบต ได้พิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น

   ข้อ ๑๗  เงินทุนซึ่งจ่ายให้องค์การบริหารส่วนตำบลกตามข้อ ๑๖ ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละสิบต่อปี ยกเว้นเงินที่นอนเป็นเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเอง

   ข้อ ๑๘  ให้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินทุนซึ่งรวบรวมได้ดังนี้

   (๑)  เงินสะสมซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลฝากไว้ ให้คิดดอกเบี้ยตามที่ ก.ส.อบต กำหนดเป็นปีๆ ไป
   (๒)  เงินตามข้อ ๑๑ (๓) หรือเงินทุนต่างๆ

   ข้อ ๑๙  เมื่อได้จ่ายดอกเบี้ยให้ ตามข้อ ๑๘ แล้ว การจ่าย ค่าตอบแทนเงินรางวัล ค่าจ้าง ค่าป่วยการ หรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นใดที่เกี่ยวกับกิจการของเงินทุนนี้ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของยอดเงินดอกผลที่เหลือในปีนั้น โดยให้ ก.ส.อบต พิจารณากำหนดเป็นรายปีไป


      ประกาศ ณ วนท ๑๓ สงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
             เสนาะ  เทียนทอง
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘

                                                    ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
   ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
           ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
            สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
                            และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่  ๒)
                                                               พ.ศ. ๒๕๔๘
   

         โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


           ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘”

           ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

           ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                                
         “ข้อ ๔  ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันเลือกตั้ง วันที่ได้รับแต่งตั้งหรือวันที่ได้รับเลือก แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ให้เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙”

           ข้อ ๔  ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

          “ข้อ ๖  กรณีบุคคลตามข้อ ๔ ได้รับเลือกตั้ง ได้รับเลือก หรือได้รับแต่งตั้ง ในระหว่างเดือนหรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งหรือเงินค่าตอบแทนพิเศษของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าว”
           ข้อ ๕  ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

         “ข้อ ๙  ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบ
นี้ใช้บังคับให้จ่ายเงินค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง”

          ข้อ ๖  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ และได้รับเงินค่าตอบแทน ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานกรรมการบริหารสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทน สำหรับตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่วันเลือกตั้ง วันที่ได้รับเลือก หรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับตามอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว จนถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗


ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

ประชา มาลีนนท์

รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินคำตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗

                                                   ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                  ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
                      รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
                             รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การ
                               บริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
                                       และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
                                                           พ.ศ. ๒๕๔๗
  

         โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานกรรมการบริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้  ดังต่อไปนี้


        ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗”

       ข้อ ๒  ระเบียบนีให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานเบกษาเป็นต้นไป

       ข้อ ๓  ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานกรรมการบริหารสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหาร พ.ศ. ๒๕๓๘ และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินค่าตอบแทนประธานกรรมการบริหารสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔

                                               
       ข้อ ๔  ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้
 ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ให้เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙

      ข้อ ๕  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อได้รับเงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้วไม่มีสิทธิ์ได้เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอีก

      ข้อ ๖  กรณีบุคคลตามข้อ ๔ ได้รับประกาศผลการเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือนหรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง หรือเงินค่าตอบแทนพิเศษ ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าว

      ข้อ ๗  ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินค่าตอบแทนประเภทค่าเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมครั้งละสองร้อยบาทถ้าในวันหนึ่งมีการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหลายครั้ง ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนประเภทค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว

       ข้อ ๘  ในวาระเริ่มแรกนับแต่วันที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยนี้ใช้บังคับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลใดซึ่งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนและเงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอีก และให้เลขานุการคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

       ข้อ ๙  ให้เริ่มจ่ายเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามอัตราที่กำหนดในระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม  ๒๕๔๗ เป็นต้นไป

       ข้อ ๑๐  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏีบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้



ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

โภคิน  พลกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินทดแทนแก่พนักงานเทศบาลวิสามัญ ประจำการที่ออกจากงาน พ.ศ.2503

                                                        ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                                        ว่าด้วยการจ่ายเงินทดแทนแก่พนักงานเทศบาลวิสามัญ
                                                  ประจำการที่ออกจากงาน พ.ศ.2503
                                                            ------------------

     โดยที่กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นสมควรให้เทศบาลจ่ายเงินทดแทนเพื่อช่วยเหลือพนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการที่ออกจากงานหรือตายโดยไม่มีความผิด  อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ. 2496  มาตรา 69 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงกำหนดระเบียบไว้ดังต่อ
ไปนี้

     ข้อ 1  ระเบียบนี้เรียกว่า  `ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินทดแทนแก่พนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการที่ออกจากราชการ พ.ศ.2503'
     ข้อ 2  ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
     ข้อ 3  `พนักงานเทศบาลวิสามัญ'  หมายความว่าพนักงานเทศบาลวิสามัญ ตามพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล  ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณประเภทเงินเดือนและยังประจำทำงานอยู่             ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานเทศบาลวิสามัญที่มีสัญญาจ้างและพนักงานเทศบาลวิสามัญชั่วคราว
     ข้อ 4  พนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการที่พ้นจากงานให้ได้รับเงินเดือนทดแทนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

          (ก)  ให้ได้รับเงินทดแทนเท่ากับเงินเดือน ๆ สุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงาน เศษของปีถ้าเกินหกเดือนให้นับเป็นหนึ่งปี  ในกรณีทเงินเดือนมีเงินเพิ่มพิเศษประจำเดือนชั่วคราว (พ) ให้รวมเงินเพิ่มพิเศษประจำเดือนชั่วคราว (พ)กับเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินทดแทนตามเกณฑ์นี้ด้วย
          (ข)  พนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการที่พ้นจากงาน  เพราะยุบเลิกตำแหน่งหรือตัดทอนงาน  ให้ได้รับเงินทุนแทนตามความในข้อ (ก)  ถ้ามีเวลาทำงานต่ำกว่าสามปีให้ได้รับเงินทดแทนเท่ากับจำนวนเวลาทำงานสามปี

     ข้อ 5  พนักงานเทศบาลวิสามัญไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนดังต่อไปนี้

          (ก)  ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากงานก่อนมีเวลาทำงานครบห้าปีบริบูรณ์


          (ข)  ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงานหรือตายเพราะกระทำความผิดหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
          (ค)  ไม่ได้ร้องขอรับเงินทดแทนต่อผู้บังคับบัญชาภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นจากงานหรือว่ายุบเลิกตำแหน่ง
          (ง)  มีเวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินทดแทนไม่ครบหนึ่งปีบริบูรณ์  เว้นกรณียุบเลิกตำแหน่ง
     ข้อ 6  การนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินทดแทนนั้นให้นับตั้งแต่วันทำงาน  โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณประเภทเงินเดือนของเทศบาล  แต่ไม่ก่อนวันที่มีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์จนถึงวันที่พ้นจากงาน  รวมทั้งเวลาที่รับราชการที่หารตามกฎหมายและคำสั่งของทางราชการในระหว่างเวลาที่ทำงานเป็นพนักงานวิสามัญประจำการด้วย    พนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการที่ประจำปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึก  ให้นับเวลาทำงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณ
     ข้อ 7  เงินทดแทนพนักงานเทศบาลวิสามัญประจำการให้จ่ายจากเงินสะสมของเทศบาล  โดยให้ปลัดเทศบาลเป็นผู้ยืมและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการยืมเงินสะสมจ่ายไปพลางก่อน
     ข้อ 8  การยื่นคำขอรับเงินทดแทนให้ผู้ขอรับยื่นแบบคำขอต่อเทศบาลที่ต้นสังกัดตามแบบท้ายระเบียบนี้  เมื่อเทศบาลเจ้าสังกัดได้รับเรื่องราวแล้วให้พิจารณาเสนอขอรับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด
      

  ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม  พ.ศ. 2503
            
           พลเอก  ป. จารุเสถียร
         
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑

                                                  ระเบยบกระทรวงมหาดไทย
                                 วาดวยการจายเงนเดอนระหวางลาของพนกงานเทศบาล
                                                    (ฉบบท ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑
                                                          -----------------

   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

   ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑"
   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ัวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
   ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
   "ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้ กำหนดหลักเกณฑ์และกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้  ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคแรก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้"
   ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน   "ข้อ ๙ พนักงานเทศบาลซึ่งลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน"
   ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๑๓ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
   "(๑) ต้องมีคุณสมบัติและอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

   (ก) เป็นพนักงานเทศบาลสามัญซึ่งมีวันทำงานเทศบาลติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นใบลา
   (ข) ในกรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ต้องมีอายุไม่เกินสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นใบลา เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะพิจารณาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์แก่กิจการของเทศบาลเป็นส่วนรวม อาจพิจารณาอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

     (ค) ในกรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศต้องมีอายุไม่เกินสามสิบห้าปีในวันที่ยื่นใบลา แต่ถ้าลาไปศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งต้องใช้เวลาหนึ่งปีถึงสองปีต้องมีอายุไม่เกินสี่สิบปี เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กิจการของเทศบาลเป็นส่วนรวมอาจพิจารณาอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
   (ง) มีความประพฤติดีและไม่เคยต้องโทษทางวินัย และผู้บังคับบัญชารับรองว่ามีความรู้ความสามารถที่จะศึกษาได้เสร็จตามโครงการ ในกรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานแสดงความรู้ในการอ่าน เขียน หรือพูดภาษาต่างประเทศของประเทศที่จะไปศึกษา หากมีกรณีเป็นที่สงสัยผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งให้มีสอบสัมภาษณ์ความรู้ภาษาต่างประเทศนั้นก่อนก็ได้

   (จ) วิชาที่ศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน และสถานศึกษานั้น ก.ท. ได้รับรองแล้ว
   (ฉ) การลานั้นไม่เป็นการเสียหายแก่การงาน และมีผู้รักษาการแทนแล้วกับไม่ถือเป็นเหตุให้เทศบาลขอคนแทน
   (ช) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในกรณีนี้ไม่ขอจ่ายเงินอุดหนุน"
   ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

  "ข้อ ๑๗ พนักงานเทศบาลซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ไม่ต้องรับผิดตามข้อ ๑๓ (๓)(ง) ในกรณีดังต่อไปนี้

   (๑) ตาย
   (๒) เทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่พนักงานเทศบาลผู้นั้นไม่ต้องรับผิดเพราะไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก"

   
  ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
      
                   ชำนิ   ศักดิเศรษฐ์

      รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน
       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลทดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่ง รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘

                                           
                                             ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                 ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี       รองนายกเทศมนตรีสมาชกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลเลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๘
   

      โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทนและประโยชนตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาลอาศัยอำนาจตามความในมาตรา  ๔๘ จตุวีสติ และมาตรา  ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒)พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


     ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘”

    ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือนเงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๓  ให้นายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งและเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ให้สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ให้เลขานุการนายกเทศมนตรีและที่ปรึกษานายกเทศมนตรีได้รับเงินเดือน ตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘”

    ข้อ ๔  ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือนเงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี

และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๕  กรณีบุคคลตามข้อ ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือนหรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง เงินค่าตอบแทนพิเศษ หรือเงินค่าตอบแทนรายเดือนของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าว”

    ข้อ ๕  ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือนเงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี

และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๘  ให้จ่ายเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป”

     ข้อ ๖  นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลเลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และกรรมการสภาเทศบาล ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ และได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน  เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่า
ด้วยการจ่ายเงินค่าป่วยการของประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาเทศบาล กับเบี้ยประชุม
กรรมการของสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น สำหรับตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่วันเลือกตั้ง หรือวันที่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับตามอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและข้อบังคับดังกล่าวจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗


ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
       
              ประชา มาลีนนท์

รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑

                                               ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
                 ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา
                                               (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑
                                                    ------------------

   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และมาตรา ๖ และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

   ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑"
   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
   ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
   " ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้ กำหนดหลักเกณฑ์และกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้  ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคแรกให้ผู้ว่าราชการจังหว้ดได้"

    
     ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
                      ชำนิ  ศักดิเศรษฐฺ์

         รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน
             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๗

                                                ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
              ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี
                    รองนายกเทศมนตรี  สมาชกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล
                 สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล
                                เลขานุการนายกเทศมนตรีที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
                                และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล
                                                       พ.ศ. ๒๕๔๗
   

       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๘ จตุวีสติและมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒)พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบััญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


      ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงิินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลทดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุีการนายกเทศมนตรีี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๗”

      ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


      ข้้อ ๓  ให้นายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทนประจำำำำตำแหน่งและเงิินค่าตอบแทนพิเศษ ตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ให้สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาล ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชนตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ให้เลขานุการนายกเทศมนตรี
 และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอตราเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ โดยให้เริ่มจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘

     
      ข้อ ๔  สมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล เมื่อได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลอีก

     ข้อ ๕  กรณีบุคคลตามข้อ ๓ ได้รับประกาศผลการเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือนหรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งเงินค่าตอบแทนพิเศษ หรือเงินค่าตอบแทนรายเดือน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าว

     ข้อ ๖  ให้กรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้งขึ้นได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท สำหรับประธานกรรมการของแต่ละคณะให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมดังกล่าวการประชุมของแต่ละคณะกรรมการในวันเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ประธาน
กรรมการและกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว

      ข้อ ๗  ให้สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทนพิเศษ ของนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณีี และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลอีก

     ข้อ ๘  ให้ิ่เริ่มจ่ิายเงินเดือน เงินค่่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี
 รองนายกเทศมนตรีสมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลสมาชิกสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล ตามอัตราที่กำหนดในระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป

     ข้อ ๙  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้



ประกาศ ณ วันที่  ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
            โภคิน  พลกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                                         

พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๗

                                                         


                                                          พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล
                                                                      พ.ศ. ๒๔๙๗
                                                                           ------
                                                                ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
                                                ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗
                                                           เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูิมพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
   โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยรายได้เทศบาลจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้


   มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.๒๔๙๗"

   มาตรา ๒*  พระราชบัญญัตินให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถ้ดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   มาตรา ๓  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติปันรายได้บำรุงเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๗๙ และบรรดากฎหมาย กฏ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัิตินี้

   มาตรา ๔  ภาษีโรงเรือนและที่ดินในเขตเทศบาลใด ให้เทศบาลนั้นจัดเก็บเป็นรายได้ของเทศบาล ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

   มาตรา ๕  อากรการฆ่าสัตว์และผลประโยชน์อื่นเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตเทศบาลใด ให้เทศบาลนั้นจัดเก็บเป็นรายได้ของเทศบาล ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

   มาตรา ๖  บรรดาค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม และค่าปรับเนื่องในกิจการซึ่งเทศบาลได้รับมอบให้เป็นเจ้าหน้าที่อนุวัตการตามกฎหมายใด้ให้เป็นรายได้ของเทศบาลนั้น

   มาตรา ๗  ภาษีป้ายตามประมวลรัษฎากร สำหรับป้ายซึ่งแสดงไว้ในเขตเทศบาลใด ให้เทศบาลนั้นจัดเก็บเป็นรายได้ของเทศบาลตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ปีภาษี ๒๔๙๘ เป็นต้นไป

   มาตรา ๘  ภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากรในเขตเทศบาลใด ให้เทศบาลนั้นจัดเก็บเป็นรายได้ของเทศบาลตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ปีภาษี ๒๔๙๗ เป็นต้นไป

   มาตรา ๙  ในการปฏิบัติการตามมาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้เทศบาลมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ และให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น  ในการบังคับเรียกเก็บภาษีค้างตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา ๑๒ แห่งประมวลรัษฎากร

   มาตรา ๑๐ การจัดสรรภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  
   มาตรา ๑๑  บรรดาข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวขาว รวมตลอดถึงปลายข้าว และ รำข้าว ซึ่งต้องเสียอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ผู้ส่งออกต้องเสียภาษีบำรุงเทศบาลก่อนส่งออกอีกในอัตราดังต่อไปนี้้

   (๑) ข้าวกล้องและข้าวขาว หนึ่งร้อยกิโลกรัมตัอหนึ่งบาท
   (๒) ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำข้าว หนึ่งร้อยกิโลกรัมต่อห้าสิบสตางค์

   ในการคำนวณน้ำหนักเพื่อเสียภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา เศษของหนึ่งร้อยกิโลกรัม ถ้าถึงห้าสิบกิโลกรัมให้นับเป็นหนึ่งร้อยกิโลกรัม ถ้าไม่ถึงห้าสิบกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง

   มาตรา ๑๒  เทศบาลมีอำนาจออกเทศบัญญัติเก็บภาษีอากร และค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีอากร และค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ได้ทุกประเภท หรือเพียงบางประเภท คือ
   (๑) ภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งสถานการค้าอยู่ในเขตเทศบาล
   (๒) ภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งสถานที่ค้าโภคภัณฑ์อยู่ในเขตเทศบาล เว้นแต่น้ำมันเบนซิน
           
   (๔) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ซึ่งร้านขายสุราอยู่ในเขตเทศบาล
           
   (๖) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน ซึ่งสถานที่เล่นการพนันอยู่ในเขตเทศบาล
   (๗) อากรมหรสพ ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งสถานที่มหรสพอยู่ในเขตเทศบาล ในการเสียภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรฐาน เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง
 

   มาตรา ๑๓  น้ำมันเบนซินซึ่งสถานที่ค้าโภคภัณฑ์อยู่ในเขตเทศบาลใด้ให้เทศบาลนั้นมีอำนาจออกเทศบัญญัติเก็บภาษีบำรุงเทศบาลได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางในการให้ถือว่าภาษีดังกล่าวเป็นภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ตามประมวลรัษฎากร

   มาตรา ๑๔  ภาษีอากร และค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ให้ถือเป็นภาษีอากร และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายนั้น ๆ  เทศบาลจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษี อากรหรือค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๓ เรียกเก็บภาษีอากร หรือค่าธรรมเนียมเพื่อเทศบาลก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้เมี่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้วให้ส่งมอบให้แก่เทศบาลนั้น ๆ เว้นแต่ภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา ๑๑ ให้ส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อจัดแบ่งให้เทศบาล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

   มาตรา ๑๕  นอกจากรายได้ของเทศบาลตามพระราชบัญญัิตินี้แล้ว เทศบาลอาจได้รับรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน

   มาตรา ๑๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน   กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
   จอมพล ป. พิบูลสงคราม
         นายกรัฐมนตรี